สารบัญ

ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการสงวนแคลเซียมไว้ในกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร
เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีบทบาทสำคัญหลายอย่างในร่างกาย เช่น การสร้างความเจริญเติบโตและลักษณะของความเป็นผู้หญิง (เช่น น้ำเสียงอ่อนหวาน มีเต้านม สะโพกผาย) ทำให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน ควบคุมการสร้างคอเลสเตอรอล ช่วยในการผลิตน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่มีลูกน้อย และที่สำคัญในประเด็นที่เรากำลังจะพูดถึงกัน คือ ช่วยในการป้องกันโรคกระดูกพรุนครับ
หน้าที่ของเอสโตรเจนต่อกระดูก
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงชนิดหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ทำหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระดูก คือ การสงวนแคลเซียม เพื่อให้คุณแม่มีน้ำนมไว้เลี้ยงลูกอย่างเพียงพอ ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการสร้างน้ำนมของคุณแม่จำเป็นต้องใช้แคลเซียมปริมาณสูงมาก
กระบวนการสงวนแคลเซียมในกระดูกเพื่อให้คุณแม่สร้างน้ำนมนั้น ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำหน้าที่ในการยับยั้ง พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (Parathyroid Hormone หรือ PTH) เพื่อเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูกและลดกระบวนการสูญเสียแคลเซียมให้น้อยลง
โปรดทราบไว้ว่า หน้าที่หลักของเอสโตรเจนไม่ใช่การสร้างกระดูก แต่เป็นการสงวนแคลเซียมในกระดูกไว้ โดยการยับยั้งกิจกรรมการสลายกระดูกให้น้อยลง
เอสโตรเจนกับสตรีที่อยู่ในภาวะวัยทอง
การสูญเสียมวลกระดูกอย่างมีนัยสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงตั้งแต่วัยก่อนวัยทองหรือวัยก่อนหมดประจำเดือน (Premenopause) พอเข้าสู่วัยทอง สตรีที่อยู่ในวัยทอง (วัยหมดประจำเดือน) ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยมากจนถึงไม่ได้เลย (อวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนคือ รังไข่) ส่งผลให้ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนไป เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีหน้าที่ในการป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกแล้ว แต่ละปีของอายุที่มากขึ้นก็จะมีการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกบางได้ในที่สุด
สตรีที่มีการตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง (ไม่ว่าจะตัดมดลูกหรือไม่ก็ตาม) จะอยู่ในภาวะเดียวกันกับสตรีวัยทอง กล่าวคือ ร่างกายไม่มีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้อีกแล้ว จึงส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้เช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ หลังจากการผ่าตัดรังไข่ 4 ปี จะเป็นช่วงที่ร่างกายมีอัตราการสูญเสียมวลกระดูกมากที่สุด จนอาจทำให้เกิดอาการหรือภาวะกระดูกพรุนได้
สตรีที่ไม่มีรังไข่ จึงควรให้ความสำคัญกับการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าฮอร์โมนทดแทนนั้นจะอยู่ในรูปของอาหาร อาหารเสริมก็ตาม ซึ่งการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนอย่างถูกต้อง จะช่วยให้การสูญเสียมวลกระดูกลดน้อยลงและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ในระยะยาว
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติหรือมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด กล่าวคือ เอสโตรเจนที่บริโภคเข้าสู่ร่างกายควรจะอยู่ในรูปอาหาร อาหารเสริม หรือตำรับยาสมุนไพร ซึ่งได้จากพืชธรรมชาติ ผู้เขียนไม่แนะนำให้ใช้เอสโตรเจนที่ได้จากการสังเคราะห์หรือผลิตจากสารเคมีที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก
โปรดทราบไว้ว่า อะไรที่เป็นธรรมชาติมากร่างกายของคนเรามักจะเผาผลาญและดูดซึมไปใช้ได้ดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอะไรที่สารสังเคราะห์ที่ได้จากกระบวนการทางเคมีเสมอ
รู้จักกับไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)

ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไฟโตเอสโตรเจน
คำว่า ไฟโต หมายถึง พืช ดังนั้น คำว่า ไฟโตเอสโตรเจน จึงมีความหมายว่า เอสโตรเจนที่ได้จากพืชนั่นเอง
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในกลุ่มของสตรีวัยทองหรือผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ไปแล้ว ควรใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้จากพืชหรือใช้ไฟโตเอสโตรเจน เพราะเป็นสารที่ได้จากพืชซึ่งมีความเป็นธรรมชาติ เข้ากับร่างกายได้ดี และร่างกายสามารถนำฮอร์โมนที่ได้จากธรรมชาติเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์ ที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายค่อนข้างมาก
ไฟโตเอสโตรเจนมีอยู่ในอาหารหลายชนิดมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทถั่วและเมล็ดชนิดต่างๆ อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ผลไม้บางชนิด เช่น มะพร้าว มะม่วงสุก เป็นต้น
แนะนำอาหารที่อุดมไปด้วยเอสโตรเจน
อาหารที่นำเสนอมีเอสโตรเจนสูงทุกชนิด ผู้เขียนได้เรียงลำดับจากอาหารที่มีเอสโตรเจนจากสูงมากไปหาสูงครับ
- เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)
- ถั่วเหลือง (Soy Beans)
- เต้าหู้ (Tofu)
- นมถั่วเหลือง (Soy Milk)
- โยเกิร์ตที่ทำจากถั่วเหลือง (Soy Yoghurt)
- เมล็ดงา งาดำหรืองาขาวก็ได้ (Sesame Seed)
- มิโซะ (Miso)
- ขนมปังผสมธัญพืชที่หลากหลาย (Multigrain Bread)
- ถั่วดำ (Black Beans)
สมุนไพรไทยที่ช่วยเสริมเอสโตรเจน ?

หมอเส็งผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรว่านชักมดลูก ต้นไม้ในรูปคือ ต้นว่านชักมดลูก
ท่านทราบหรือไม่ว่ามีสมุนไพรไทยอยู่หลายชนิดที่มีไฟโตเอสโตรเจน เช่น กวาวเครือขาว ว่านชักมดลูก ว่านหางช้าง ที่สามารถใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในกรณีของสตรีวัยทองและสตรีที่ผ่าตัดรังไข่ไปแล้วได้
อย่างไรก็ตาม สมุนไพรแต่ละชนิดจะมีประโยชน์หรือนำไปใช้กับคนได้จริงๆแบบไม่มีผลข้างเคียงและปลอดภัย จำเป็นต้องได้รับการปรุงหรือผสมด้วยสมุนไพรชนิดอื่น ตามหลักการแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพรเพียงชนิดเดียวจะเรียกว่า ยาเดี่ยว และการใช้สมุนไพรหลายชนิดผสมกันจะเรียกว่า ตำรับยา ซึ่งการใช้สมุนไพรแบบตำรับ จะมีข้อดีมากกว่าการใช้ยาเดี่ยว เพราะสมุนไพรแต่ละชนิดมีทั้งประโยชน์และโทษ การปรุงให้เป็นตำรับจะช่วยเสริมจุดเด่นของสมุนไพรและช่วยลบจุดด้อยที่อาจเป็นผลข้างเคียงได้ ดังนั้น เราควรเลือกใช้สมุนไพรที่เป็นตำรับและต้องใส่ใจกับสูตรสมุนไพรที่ใช้เสมอ
หลายครั้งที่คนทั่วไปใช้สมุนไพรแบบขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เช่น เมื่อมีข่าวหรือข้อมูลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ว่านชักมดลูก เป็นสมุนไพรที่มีไฟโตเอสโตรเจนและใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนได้ คนที่ไม่เข้าใจก็จะไปหาซื้อว่านชัดมดลูกมารับประทานในลักษณะของยาเดี่ยว ซึ่งไม่มีส่วนผสมของสมุนไพรชนิดอื่นหรือปรุงให้เป็นตำรับยาโดยแพทย์แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตราย เพราะว่านชักมดลูกเองหากทานแบบเดี่ยวๆในปริมาณที่มากและนานเกินไป ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้หลายอย่าง เช่น มะเร็งเต้านม เนื้องอกในมดลูก และฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติได้ เป็นต้น
หากท่านสนใจที่จะใช้ฮอร์โมนทดแทนจากธรรมชาติ ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสตรีเบอร์ 2 ซึ่งคิดค้นและปรุงโดยแพทย์ทางเลือก รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก!
สรุป
เอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยการสะสมและป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก สตรีที่ขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะอยู่ในกลุ่มของสตรีวัยทองและสตรีที่ได้ผ่าตัดรังไข่ออกไปแล้ว การรับฮอร์โมนทดแทนจากอาหาร อาหารเสริมและสมุนไพร จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น ผู้เขียนแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนสังเคราะห์ เพราะมีผลข้างเคียงมากและไม่ปลอดภัยในการใช้ระยะยาว