บุหรี่ภัยร้ายสารพัดโรครวมถึงกระดูกพรุน

ผู้เขียน teerinjue |

สารบัญ

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระดูกพรุน

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระดูกพรุน

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัญหาสุขภาพหลายอย่างเกิดจากพิษภัยของบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหารและโรคปอดเรื้อรัง มีงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนและกระดูกแตกหัก ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกาพบกว่า มีคนอเมริกันที่ป่วยเป็นโรคเนื่องการสูบบุหรี่ถึง 16 ล้านคน

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นสภาวะที่กระดูกมีความอ่อนแอและมีแน้วโน้มว่าจะแตกหรือหักได้ ภาวะกระดูกแตกหักของผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุนส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและพิการได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีคนมากกว่า 53 ล้านคนที่กำลังป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนหรือมีความเสี่ยงจะป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนเนื่องมาจากมวลกระดูกต่ำ

นอกเหนือจากการสูบบุหรี่แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ดังต่อไปนี้

  • เป็นคนที่รูปร่างผอม มีโครงสร้างร่างกายเล็ก
  • มีประวัติที่ครอบครัวเคยเป็นโรคนีี้มาก่อน
  • สตรีที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่หมดประจำเดือนเร็วกว่าคนปกติ
  • สตรีที่มีภาวะขาดประจำเดือน
  • การใช้ยาบางประเภทต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ยารักษาโรคลูปัส โรคหืด โรคชัก และโรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์
  • มีพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย
  • ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

กระดูกพรุนเป็นโรคที่ป้องกันได้ มันถูกเรียกว่า ภัยเงียบ เพราะว่า หากเราไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ภาวะการสูญเสียมวลกระดูกสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ จนกระทั่งเกิดภาวะกระดูกแตกหักขึ้น โรคกระดูกพรุนถูกเรียกว่า เป็นโรควัยเด็กที่เกิดขึ้นกับคนวัยชราเพราะว่าการดูแลให้กระดูกมีสุขภาพดีตั้งแต่วัยเยาว์หรือตั้งแต่เนิ่นๆจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้เมื่อเราแก่ตัวลง อย่างไรก็ตาม ไม่มีคำว่าสายสำหรับการหันมาปรับตัวและดูแลสุขภาพเพื่อกระดูกที่ดีและแข็งแรง

การสูบบุหรี่กับโรคกระดูกพรุน

การสูบบุหรี่ถูกระบุว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว

การสูบบุหรี่ถูกระบุว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว

การสูบบุหรี่ถูกระบุว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้แสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง การวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อสุขภาพกระดูกเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและสลับซับซ้อน มันเป็นการยากที่จะบอกว่า มวลกระดูกลดลงจากการสูบบุหรี่โดยตรง หรือเกิดจากปัจจัยร่วมที่เหมือนกันของนักสูบ ยกตัวอย่างเช่น นักสูบมักจะมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ มีแนวโน้มที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า ออกกำลังกายน้อยกว่า และมีภาวะทุพโภชนาการ (กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่และไม่ได้สัดส่วน) สตรีที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะวัยทองเร็วกว่าสตรีที่ไม่สูบบุหรี่ ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนของผู้สูบบุหรี่ทุกคน

ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษาถึงผลกระทบของการสูบบุหรี่ส่วนมาก แสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของกระดูกแตกหัก แม้ว่าผลการศึกษาทั้งหมดจะไม่ได้สนับสนุนข้อสรุปนี้ แต่ก็มีหลักฐานเป็นส่วนที่เชื่อมโยงกัน เช่น

  • ยิ่งเราสูบบุหรี่นานเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการกระดูกแตกหักตอนแก่แล้ว
  • ผู้สูบบุหรี่ที่มีกระดูกแตกหักมักจะหายยากและหายช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ และอาจจะต้องเจอปัญหาแทรกซ้อนในระหว่างกระบวนการรักษา
  • พบการสูญเสียมวลกระดูกของชายและหญิงที่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ (เห็นแนวโน้มที่ชัดเจน)
  • มีการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งที่พบว่า การได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นในวัยเด็กหรือก่อนวัยผู้ใหญ่ อาจเพิ่มความเสี่ยงให้มวลกระดูกลดลง
  • สตรีที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะผลิตฮอร์โมนเพศน้อยกว่าสตรีที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งนำไปสู่การเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติ และนำไปสู่การเกิดโรคกระดูกพรุน

การเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด ช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนและอาการกระดูกแตกหัก อย่างไรก็ตาม มันอาจจำเป็นต้องใช้เวลาหลายปีให้ร่างกายกำจัดพิษของบุหรี่และเข้าสู่สภาวะปกติได้

แนวทางการแก้ไขปัองกัน

ผู้ที่สูบบุหรี่ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้

  1. เลิกบุหรี่เสียแต่วันนี้ เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการปัองกันโรคกระดูกพรุนอย่างได้ผลในระยะยาว
  2. ทานอาหารให้ถูกชนิด สัดส่วนและปริมาณ การทานอาหารให้ถูกชนิด ได้สัดส่วนและปริมาณจะช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง เราควรให้ความสำคัญกับการทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น ผักใบเขียว เป็นต้น วิตามินดีก็มีบทบาทสำคัญในส่วนของการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีได้แก่ ไข่แดง ปลาทะเล และตับ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ต้องการแคลเซียมและวิตามินดีมากกว่าคนในวัยผู้ใหญ่
  3. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก กระดูกก็ไม่ต่างจากกล้ามเนื้อ ต้องได้รับการฝึกฝนหรือออกกำลังเพื่อสร้างความแข็งแรง การออกกำลังกายที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรงได้มาก คือ การออกกำลังโดยใช้น้ำหนัก (Weight training) ที่เราพบเห็นได้ทั่วไปตามฟิตเนส รองลงมาก็จะเป็นการเดินหรือวิ่ง การเต้นแอโรบิค อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะหากเราเลือกการออกกำลังกายได้เหมาะสมกับวัยและความแข็งแรงของร่างกายก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด แต่ถ้าเลือกได้ไม่เหมาะสม ผลที่ได้อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เช่น หากเรามีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนอยู่ก่อนแล้วไปเลือกออกกำลังกายแบบใช้น้ำหนัก ก็อาจทำให้เกิดภาวะกระดูกแตกหักได้ เป็นต้น
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป เชื่อมโยงกับการแตกหักของกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูกข้อมือ อีกทั้งยังส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุลแคลเซียม และยังส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนชนิดต่างๆในร่างกาย ที่มีส่วนช่วยในการป้องกันกระดูก และวิตามินหลายตัวที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม การดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการล้ม ซึ่งอาจทำให้ท่านกระดูกแตกหักได้
  5. ตรวจสุขภาพกระดูกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การตรวจสอบความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density Test) จะช่วยให้ท่านทราบถึงความแข็งแรงของกระดูกตามจุดต่างๆในร่างกาย และทราบว่าท่านมีปัญหาโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ? ซึ่งช่วยเราสามารถคาดการณ์ถึงภาวะกระดูกพรุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ส่งผลให้สามารถวางแผนการป้องกันและการรักษาได้อย่างทันท่วงที การตรวจสอบนี้เป็นการตรวจสอบที่ปลอดภัยและไม่มีอะไรน่ากลัวหรือเจ็บปวด

สรุป

การสูบบุหรี่มีผลต่อมวลกระดูกอย่างแน่นอน กล่าวคือ มีผลทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงและส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ในระยะยาว โดยมีผลการศึกษามากมายเป็นเครื่องช่วยยืนยัน ดังนั้น หากท่านกำลังสูบบุหรี่ วิธีการที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุนและทำให้ทุกอย่างเข้าสู่สภาวะปกติได้เร็วที่สุด คือ การเลิกสูบบุหรี่เสียแต่วันนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีเลิกบุหรี่ที่ทันสมัยและมีตัวช่วยหลายอย่าง ท่านสามารถโทรไปได้ที่เบอร์ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ตอนนี้เลย!

อ้างอิง

http://www.niams.nih.gov/Health_Info/Bone/Osteoporosis/Conditions_Behaviors/bone_smoking.asp

ธีริน เจริญอนันต์กิจ

ประสบการณ์ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น 8 ปีในฐานะวิศวกร แต่มีความสนใจทางด้านการออกกำลังกาย สุขภาพ สมุนไพรและอาหารเสริม รวมถึงมีความสนใจด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชื่นชอบการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ผ่านการเขียนบล็อก สนุกกับการทำการตลาดออนไลน์ และเป็นนักเก็งกำไรในตลาดทุน

วิตามินดีมีประโยชน์กับโรคกระดูกพรุนอย่างไร?

ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนในยุคปัจจุบันที่มักจะนั่งทำงานในที่ร่มและไม่ค่อยรับแสงแดด ส่งผลให้ร่างกายมักจะขาดวิตามินชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "วิตามินดี" วิตามินดีเป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อกระดูก เพราะเป็นวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย...

read more

เคล็ดไม่ลับการกินอาหารต้านและชะลอกระดูกพรุน

อาหารมีส่วนสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูก เพราะเป็นสิ่งที่เราบริโภคเข้าสู่ร่างกายทุกวัน วันละอย่างน้อย 3 มื้อ ทุกครั้งที่เราทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะทำการย่อยและดูดซึมสารอาหารโดยอวัยวะต่างๆ หากอาหารที่เราบริโภคเป็นอาหารที่มีประโยชน์...

read more