รายงานสมุนไพรธรรมชาติต้านและชะลอกระดูกพรุน

[op_liveeditor_element data-style=””]

รายงานสมุนไพรธรรมชาติต้านและชะลอกระดูกพรุน

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาเป็นธัญพืชน้ำมันที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง มนุษย์มีความคุ้นเคยกับการปลูกงามายาวนานกว่า 3,000 ปี งามีหลายสายพันธุ์ ส่วนมากเป็นสายพันธุ์ป่าจากทวีปแอฟริกา งาที่เราปลูกและรับประทานกันมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ซึ่งมีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศมากกว่าพืชทั่วไป

งาเป็นหนึ่งในพืชที่มีน้ำมันจากเมล็ดมากที่สุดอย่างหนึ่ง มีรสชาติคล้ายถั่ว และเป็นส่วนประกอบในอาหารนานาชนิดทั่วโลก มีคนบางกลุ่มที่มีอาการแพ้งาหลังจากการบริโภค คล้ายกับการบริโภคถั่วและอาหารชนิดอื่นๆ

งามีหลายสีขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก เช่น สีเหลืองแกมเทา สีน้ำตาลไหม้ สีทอง สีน้ำตาล สีแดง สีเทาและสีดำ งาที่ได้รับความนิยมในการซื้อขายกันมากที่สุด คือ งาขาว (มีสีขาวนวล)

บางครั้งการผลิตงาเพื่อขายอาจมีการปอกเปลือกเหลือเฉพาะเนื้องาข้างในให้มีสีขาว เพื่อเพิ่มความน่ารับประทานเมื่อนำไปประกอบกับอาหาร[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

ถิ่นกำเนิดของงา

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาได้ชื่อว่าเป็นพืชประวัติศาสตร์ เพราะมีการปลูกและใช้งาสำหรับมนุษย์ชาติมาหลายพันปีแล้ว[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

  • จากหลักฐานทางโบราณคดีพบซากไหม้ของงา และถูกประเมินว่ามีอายุกว่า 3,000 – 3,050 ปี ก่อนคริสตกาล
  • มีการกล่าวอ้างว่ามีการซื้อขายงาระหว่างอาณาจักรเมโสโปเตเมียกับอินเดียตั้งแต่ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล
  • บางรายงานกล่าวอ้างว่า มีการปลูกงาในประเทศอียิปต์ในสมัย Ptolemiac 305 ปีก่อนคริสตกาล
  • บันทึกของชาวบาลิโลนและอัสซีเรียน มีการพูดถึงงาตั้งแต่เมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว
  • งาเป็นยาชนิดหนึ่งในตำรายาสมุนไพรรักษาโรคของชาวอียิปต์ ซึ่งเป็นตำราที่มีอายุมานานกว่า 3,600 ปี
  • รายงานทางโบราณคดีกล่าวว่า ชาวตุรกีรู้จักการปลูกงาและรู้จักการสกัดเอาน้ำมันงามาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ 2,750 ปีที่แล้ว

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]ถ้านับจากประวัติศาสตร์ของงาตามหลักฐานที่ปรากฏจะพบว่า มนุษย์เรารู้จักการปลูกงาและใช้ประโยชน์จากงาอาจจะนานกว่า 5,000 ปีมาแล้ว[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

คุณค่าทางอาหารของงาดำเทียบกับงาขาว

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

งาขาวที่ไม่ได้ผ่านการขัดสีมักจะมีสีขาวเหลืองหรือสีคล้ายกับงาช้าง

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาดำ คือ งาที่ไม่ผ่านการขัดสี
งาขาว คือ งาสีขาวที่ไม่ผ่านการขัดสี สีขาวที่มีจึงไม่ใช่สีขาวจั๊ว แต่เป็นสีขาวธรรมชาติ อาจจะมีออกเหลืองบ้าง เทาบ้างแล้วแต่สายพันธุ์

ส่วนงาขาวที่เราเห็นว่าเป็นสีขาวแบบสม่ำเสมอเป็นงาขาวที่ผ่านการขัดสีมาแล้ว งาขาวแบบนี้คุณค่าทางอาหารน้อยกว่างาดำและงาขาวแบบไม่ขัดสีอยู่แล้ว ดังนั้น การเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารที่เราจะพูดถึงจะเป็นในส่วนของงาดำและงาขาวธรรมชาติ (ไม่ขัดสี)

จากข้อมูลที่ผู้เขียนได้ค้นคว้ามา พบว่า สารอาหารโดยรวมในงาดำและงาขาวไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่จุดที่แตกต่างคือฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

ทำไมต้องเป็นงาดำ งาดำดีกว่างาขาวอย่างไร ?

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

ซ้ายมือคืองาดำและขวามือคืองาที่ผ่านการขัดสีจนได้เป็นสีขาวเนียน

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาดำ คือ งาที่ไม่ผ่านการขัดสี ส่วนงาขาวที่มีสีขาวธรรมชาติ คือ สีออกขาวเหลืองหรือขาวเทา ก็เป็นงาที่ไม่ได้ขัดสีเช่นกัน ส่วนงาที่เป็นสีขาวเนียน จะเป็นงาที่ผ่านการขัดสีแล้ว งาขาวเนียนที่เราเห็นกันตามท้องตลาดจึงมีสารอาหารน้อยกว่างาดำ ซึ่งไม่ได้มีการขัดสีอยู่แล้ว ลองเปรียบเทียบง่ายๆกับข้าว เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าข้าวไม่ขัดสีหรือข้าวกล้องมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีประโยชน์มากกว่าข้าวขาวหรือข้าวขัดสีมาก[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

  • งาดำ คือ งาที่ไม่ผ่านการขัดสี ส่วนงาขาวที่มีสีขาวธรรมชาติ คือ สีออกขาวเหลืองหรือขาวเทา ก็เป็นงาที่ไม่ได้ขัดสีเช่นกัน ส่วนงาที่เป็นสีขาวเนียน จะเป็นงาที่ผ่านการขัดสีแล้ว งาขาวเนียนที่เราเห็นกันตามท้องตลาดจึงมีสารอาหารน้อยกว่างาดำ ซึ่งไม่ได้มีการขัดสีอยู่แล้ว ลองเปรียบเทียบง่ายๆกับข้าว เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าข้าวไม่ขัดสีหรือข้าวกล้องมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีประโยชน์มากกว่าข้าวขาวหรือข้าวขัดสีมาก
  • นักวิจัยค้นพบว่าแม้เปลือกและเนื้อของงาดำและงาขาวมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่สูง แต่เมื่อเทียบกันระหว่างงาดำกับงาขาวแล้ว เปลือกและเนื้อของงาดำมีสารประกอบฟีนอล (Phenolic Compounds) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่างาขาวมากถึง 3 เท่าตัว
  • นักวิจัยค้นพบว่า ในน้ำมันงาดำ มีสารประกอบฟีนอล (Phenolic Compounds) ที่จัดอยู่ในกลุ่มของลิกแนน (Lignans) สารเหล่านี้ได้แก่ สารเซซามิน (Sesamin) เซซาโมลิน (Sesamolin) และเซซามอล (Sesamol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีมีอยู่ในงาและมีมากในงาดำเท่านั้น
  • ในทางแพทย์แผนจีน สีดำเป็นของไต และไตเป็นแหล่งกำเนิดแห่งชีวิต แพทย์จีนจึงเลือกใช้งาดำในการบำบัดและรักษาโรคหลายชนิด

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

สารพฤกษเคมี (Phytochemical) ที่สำคัญในงาดำ

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

โครงสร้างทางเคมีของลิกแนน

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]สารพฤกษเคมีของงาดำที่โดดเด่นและมีประโยชน์มาก คือ สารประกอบฟีนอลในกลุ่มลิกแนนที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะพบได้ในงาสีต่างๆและพบได้มากในงาดำเท่านั้น ได้แก่สารดังต่อไปนี้[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

  • เซซามิน
  • เซซาโมลิน
  • เซซามอล

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]จากงานวิจัยจำนวนมากพบว่าสารพฤกษเคมีเหล่านี้มีประโยชน์ในการต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากความถดถอยหรือความเสื่อมของร่างกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันเลว (LDL)ในร่างกายสูง โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไตวายเรื้อรัง โรคข้อเสื่อม โรคกระดูกพรุน รวมถึงใช้ในศาสตร์ชะลอวัยหรือต้านแก่ (Anti-aging) อีกด้วย

จากผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ณ ขณะนี้สารสำคัญของงาดำที่ดูเหมือนจะเป็นพระเอกหรือเป็นสารที่มีความโดดเด่นในการต้านอนุมูลอิสระ คือ เซซามิน กล่าวคือ มีประสิทธิภาพในการต้านโรคสูงกว่า เซซาโมลินและเซซามอล ผู้ผลิตอาหารเสริมจึงเริ่มที่จะมีการสกัดสารสำคัญชนิดนี้ออกมาจากงาดำ แล้วทำออกมาจำหน่ายในรูปอาหารเสริม เพราะเซซามินจะมีอยู่ในปริมาณที่น้อยมากในงาดำ คือ มีเพียง 0.14% จากปริมาณน้ำมันงาดำสกัด โดยที่ผู้ผลิตเชื่อว่าการที่ร่างกายได้รับสารสกัดชนิดนี้อย่างเพียงพอจะทำให้ร่างกายประโยชน์มากที่สุด[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

สารอาหารในงาดำ

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาดำมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด จนได้ชื่อว่าเป็นอาหารและยาอายุวัฒนะของคนสมัยโบราณ โดยเฉพาะคนจีนที่นิยมใช้งาดำกันอย่างแพร่หลายในอาหารและใช้เป็นยารักษาโรคในทางการแพทย์แผนจีนมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว โดยงาดำมีข้อมูลทางโภชนาการและสารอาหารที่น่าสนใจดังต่อไปนี้[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

1. แคลเซียม

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาดำเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูงมาก โดยงาดำ 100 กรัม จะมีแคลเซียมอยู่ประมาณ 975 มิลลิกรัมและในหนึ่งวันตามมาตราฐานของ Thai RDI แนะนำให้คนทั่วไปได้รับแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายวันละ 800 มิลลิกรัม นั่นแสดงให้เห็นว่า หากเราบริโภคงาดำเพียงวันละ 100 กรัมหรือขีดเดียว ปริมาณแคลเซียมที่เราได้รับเข้าสู่ร่างกายก็เพียงพอตามมาตราฐานแล้ว

นมโคเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมทั่วโลก เพราะเราหลายคนถูกสอนกันมาว่า กินนมเยอะๆร่างกายแข็งแรง โตเร็ว โตไวและมีสุขภาพดี ในอีกส่วนหนึ่งก็มีคนจำนวนมากที่บริโภคนมวัวกันเป็นประจำเพราะต้องการแคลเซียมในนมวัวเพื่อการเสริมสร้างและการบำรุงกระดูกและฟัน

นมโคน้ำหนัก 100 กรัม จะมีแคลเซียมเพียง 120 มิลลิกรัมเท่านั้น หากเรานำมาเปรียบเทียบกับงาดำน้ำหนัก 100 กรัมที่มีปริมาณแคลเซียมเท่ากับ 975 มิลลิกรัม จะพบว่างาดำที่น้ำหนักเท่ากับนมวัวมีปริมาณแคลเซียมเป็น 975/120 = 8.125 หรือประมาณ 8 เท่าของนมวัวเลยทีเดียว

นอกจากนี้นมโคอาหารที่เป็นอาหารยอดนิยมของใครหลายคน ยังมีคำถามหรือข้อกังขาที่น่าสงสัยว่า “จริงๆแล้วมนุษย์ควรดื่มนมวัวเป็นอาหารหรือไม่ ?” เพราะมีคนจำนวนมากที่มีอาการแพ้นมวัว และประเทศที่ดื่มนมวัวหรือนมโคกันเป็นอาหารอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพื่อบำรุงสุขภาพ เสริมแคลเซียมให้ร่างกายเพื่อบำรุงกระดูกอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ประชากรกลับมีอัตราความเจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนติดอันดับต้นๆของโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่ไม่น้อย[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

2. โปรตีน

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาดำจัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนจากพืชสูงมาก โดยมีค่าอยู่ที่ 17% โดยน้ำหนัก หลังจากได้อ่านประโยคนี้แล้วหลายท่านอาจตั้งคำถามว่า โปรตีนงาดำสูงมาก สูงแค่ไหน ? และอาจจะยังไม่เห็นภาพ ผู้เขียนขออธิบายด้วยการเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
โปรตีนจากงาดำน้ำหนัก 100 กรัม จะมีปริมาณ 18 กรัม เทียบได้กับ[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

  • การบริโภคอกไก่ น้ำหนัก 100 กรัม (งาดำและอกไก่มีปริมาณโปรตีนมากพอๆกัน)
  • การบริโภคไข่ไก่เบอร์ใหญ่ (เบอร์ศูนย์) ประมาณ 3 ฟอง
  • การบริโภคปลาแซลมอนหรือปลาทู 82 กรัม

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]คนทั่วไปส่วนมากมักได้รับโปรตีนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ไม่ว่าจะเป็น เนื้อ นมหรือไข่ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับงาดำกับผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์แล้ว ปริมาณโปรตีนที่ได้จากผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์อาจมีโปรตีนอยู่ในระดับที่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกันกับโปรตีนจากงาดำในน้ำหนักที่เท่ากัน หลายคนจึงมองว่าหากต้องการโปรตีนในปริมาณมากๆก็บริโภคอาหารที่ได้จากสัตว์เอาก็ไม่น่ามีปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างแรง

จริงอยู่การบริโภคอาหารที่ได้จากสัตว์ทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนสูงและได้รับในปริมาณที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ผลเสียของการบริโภคโปรตีนจากสัตว์ที่มากเกินไป ก็มีอยู่หลายอย่างตามผลงานวิจัยในหนังสือที่มีชื่อเรื่องว่า The China Study

ข้อสรุปอย่างหนึ่งที่ได้จากหนังสือเล่มนี้คือ การบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบสัดส่วนกับการบริโภคโปรตีนจากพืช กล่าวคือ บริโภคโปรตีนจากสัตว์มากเกินกว่าโปรตีนจากพืชถึง 2 เท่าตัว มีผลทำให้ร่างกายเจ็บป่วยและป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในระยะยาว

จากข้อสรุปในงานวิจัยข้างต้น จึงสามารถสรุปได้ว่า คนเราควรบริโภคโปรตีนจากพืชให้มากเข้าไว้ บริโภคโปรตีนจากสัตว์ให้น้อยกว่า งาดำเป็นอาหารที่มีโปรตีนจากพืชสูง จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนทั่วไปอย่างหนึ่ง[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

3. ไขมันชนิดดี

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาดำหรืองาสีอื่นมีไขมันโดยน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 40% – 50% โดยส่วนประกอบของไขมันที่มีอยู่ในงาดำจะมีทั้งเป็นกรดไขมันจำเป็น (ร่างกายสร้างเองไม่ได้ต้องได้รับจากอาหาร) อันได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโมก้า 6 และกรดไขมันไม่จำเป็น อันได้แก่ โอเมก้า 9 ซึ่งกรดไขมันเหล่าเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนเรามาก[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

4. คาร์โบไฮเดรตชนิดดี

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]ในงาดำมีคาร์โบไฮเดรตชนิดดีกล่าวคือ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายค่อยๆย่อยและดูดซึมไปใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะมีส่วนผสมของไฟเบอร์หรือใยอาหารจากธรรมชาติ มีผลทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เรียกว่า “อินซูลิน” ทำงานน้อยลง ต่างจากคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี ที่ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนัก เพราะระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตับอ่อนจึงจำเป็นต้องหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

5. มีวิตามินหลากหลาย

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]ในงาดำมีวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด ได้แก่[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

  • วิตามิน B1
  • วิตามิน B2
  • วิตามิน B3
  • วิตามิน B5
  • วิตามิน B6
  • วิตามิน B9
  • วิตามิน A
  • วิตามิน E

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

6. มีแร่ธาตุจำเป็นที่หลากหลาย

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]คำว่าแร่ธาตุ หมายถึง แร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรอง

แร่ธาตุหลัก คือ แร่ธาตุที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในปริมาณมากเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและทำงานได้เป็นปกติ ในงาดำจะมีแร่ธาตุหลักดังต่อไปนี้ คือ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัสโพแทสเซียม โซเดียม

แร่ธาตุรอง คือ แร่ธาตุที่จำเป็นต้องร่างกายเช่นเดียวกันกับแร่ธาตุหลัก แต่ร่างกายต้องการในปริมาณไม่มาก ในงาดำจะมีแร่ธาตุรองดังต่อไปนี้ คือ เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง เซเลเนียม[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

การนำงาดำไปใช้ในทางการแพทย์ทางเลือก

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

สปาแบบอายุรเวทที่มีการใช้น้ำมันงาในการนวดเพื่อผ่อนคลายและเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

แพทย์แผนอินเดีย

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]การแพทย์แผนอินเดียจะเรียกว่า การแพทย์อายุรเวท (Ayurveda) การใช้น้ำมันงาของแพทย์อายุรเวทหรือแม้แต่คนอินเดียโดยทั่วไป เป็นไปอย่างแพร่หลายและลึกซึ้งอยู่ในวัฒนธรรมของคนอินเดียมายาวนาน

แพทย์หรือคนอินเดียใช้น้ำมันงาดำหรืองาสีอื่นในการปรุงตำรับยาสมุนไพร เกือบทุกชนิดมีส่วนผสมของน้ำมันงา ใช้น้ำมันงาในการประกอบอาหาร ใช้ในการกลั้วปากเพื่อให้ฟันขาวสะอาดและแข็งแรง และที่โดดเด่นที่สุดก็เห็นจะเป็นการใช้น้ำมันงาในการชโลมและนวดทั่วร่างกายตั้งแต่ปลายผมจรดปลายเท้า เพราะองค์ความรู้โบราณของอินเดียมีการสอนไว้ว่า การชโลมและนวดร่างกายด้วยน้ำมันงามีผลทำให้สุขภาพดีมีร่างกายแข็งแรง

การนวดด้วยน้ำมันงาจะต้องใช้ความร้อนเข้าช่วย กล่าวคือ คนอินเดียอาจจะทาน้ำมันงาไว้ทั่วตัว แล้วเข้าไปในที่ร้อนๆหรือแช่น้ำร้อนเพื่อให้ความร้อนขยายรูขุมขนและดูดซึมน้ำมันเข้าสู่ร่างกายได้ดี หรืออุ่นน้ำมันงาดำให้ร้อนในระดับหนึ่งแล้วใช้นวดไปทั่วร่างกายก็ได้

การใช้น้ำมันงาดำชโลมหรือนวดไปทั่วร่างกายจะส่งผลดดีให้กับเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย โดยมีความเชื่อว่าร่างกายจะได้รับประโยชน์ตั้งแต่ผิวหนัง กล้ามเนื้อ อวัยวะภายในจนถึงกระดูกและไขข้อ ดังนั้น แม้แต่ในเด็กเล็กอายุ 2-3 ปี คนอินเดียเค้าก็ใช้น้ำมันงานวดตัวให้เป็นประจำ ความเชื่อของคนอินเดียเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันงาน่าจะเป็นจริง เพราะตัวของน้ำมันงาเองมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด รวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่สูงมากๆโดยเฉพาะในงาดำ รวมทั้งงานวิจัยในยุคปัจจุบันเริ่มมีข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกับประโยชน์หลายๆอย่างของน้ำมันงาที่มาจากความเชื่อและตำราแพทย์อายุรเวทอีกด้วย[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

แพทย์แผนจีน

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]สำหรับแพทย์แผนจีน งาดำเป็นยาที่ใช้บำรุงตับและไต มีสรรพคุณในการบำรุงเลือด เพิ่มสารแห่งชีวิตหรือจิง (Jing) และเพิ่มหยินในร่างกาย แก้ปราณตับและไตพร่อง

เนื่องจากไตเป็นอวัยวะพื้นฐานและเป็นแหล่งสร้างสารแห่งชีวิต (สารจิง = Jing) จึงเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างสารแห่งความหนุ่มสาว ซึ่งลักษณะของความหนุ่มสาวของคนเราจะดูได้จากกระดูก ไขข้อและฟันที่แข็งแรง ผิวหนังที่ละเอียดและเต่งตึง ผมดกดำและไม่หงอกหรือร่วงมากนัก แพทย์จีนจึงแนะนำให้คนทั่วไปบริโภคงาดำเพื่อสร้างความอ่อนเยาว์ ต้านความแก่ บำรุงกระดูก ไขข้อ แก้ผมหงอกและผมร่วง[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

งาดำกับโรคกระดูกพรุน

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]ประโยชน์ของงาดำต่อการบำรุงกระดูกหรือต่อการบำบัดรักษาโรคกระดูกพรุน อธิบายได้ในหลายแง่มุม ตามหลักการแพทย์แต่ละแผน

หากเราอธิบายในแง่มุมของแพทย์แผนจีน ไตเป็นอวัยวะหลักที่เกี่ยวของกับกระดูกและฟันโดยตรง คือทำหน้าที่ในการสร้างกระดูกและฟัน หากไตอ่อนแอกระดูกจะพรุน ฟันโยกและฟันหลุดได้ง่าย

ตามหลักการแพทย์แผนจีน สีดำเป็นสีของไต อาหารจากธรรมชาติทุกอย่างที่เป็นสีดำ (ไม่นับรวมน้ำอัดลมสีดำหรืออาหารสีดำที่เกิดจากการปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นของคนนะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดคิดว่ากินน้ำอัดลมสีดำจะช่วยบำรุงไตได้ ซึ่งผลที่ได้ตรงข้ามคือ ทำลายไต) จึงส่งผลดีกับไตโดยตรง งาดำจึงเป็นหนึ่งในอาหารและยาที่ใช้ในการบำรุงไตได้เป็นอย่างดี หากตัวเราหรือคนใกล้ชิดมีอาการของโรคกระดูกพรุนหรือต้องการบำรุงกระดูก อวัยวะที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ ไต ดังนั้น การบำรุงไตด้วยการบริโภคงาดำ ก็คือการบำรุงและเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกนั่นเอง

หากเราอธิบายข้อดีของการบริโภคงาดำในแนวทางวิทยาศาสตร์กันแบบเต็มๆ เหตุผลที่งาดำเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุน มีดังต่อไปนี้[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

1. งาดำมีแคลเซียมสูงมาก

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ร่างกายต้องได้รับแคเลซียมจากอาหารเพราะไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นเองได้ กระดูกของคนเรามีการทำลายเซลล์ที่เสื่อมสภาพและสร้างเซลล์ใหม่อยู่ตลอดเวลา หากปราศจากการบริโภคแคลเซียมที่เพียงพอและเหมาะสม ร่างกายย่อมไม่สามารถที่จะสร้างกระดูกที่แข็งแรงและมีสุขภาพดีได้[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

2. แคลเซียมธรรมชาติจากงาดำ

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]แคลเซียมจากงาดำเป็นแคลเซียมจากพืชธรรมชาติ การที่ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าการบริโภคแคลเซียมจากนมหรือแคลเซียมในรูปแบบอาหารเสริม[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

3. งาดำเป็นอาหารบำรุงไตชั้นดี

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]หากไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไตย่อมสามารถสร้างกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตไม่ว่าจะเป็นไตวายเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน มักจะมีปัญหาโรคแทรกซ้อนชนิดหนึ่ง คือ โรคกระดูกพรุน สาเหตุที่มีโรคกระดูกพรุนแทรกซ้อนเพราะว่า เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ไตซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสมดุลความเป็นกรดด่างของร่างกาย จะทำหน้าที่นี้ได้ไม่ดีพอ ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด เมื่อเกิดภาวะเลือดเป็นกรดร่างกายจะพยายามปรับสภาพให้เข้าสู่สภาวะสมดุลโดยเร็ว ด้วยการดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อบัฟเฟอร์หรือทำให้เลือดเข้าสู่ภาวะสมดุลให้ได้ หากเกิดเหตุการณ์แบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นระยะเวลานานๆ กระดูกย่อมเกิดภาวะสูญเสียแคลเซียมสะสม จนในที่สุดก็ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนได้[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

4. งาดำจัดเป็นสมุนไพรที่มีสารอาหารหลากหลาย

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]ซึ่งสารอาหารแต่ละชนิดที่อยู่ในงาดำ ส่วนมากเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูกทั้งนั้น เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส ทองแดง เหล็ก สังกะสี วิตามิน B6 โปรตีนจากพืช รวมถึงไขมันชนิดดี[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

5. งาดำมีสารประกอบฟีนอล (Phenolic Compounds) อยู่เป็นจำนวนมาก

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างดี ผู้เขียนเชื่อว่า คำว่า “อนุมูลอิสระ” เป็นคำที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เอ่ยถึงคำนี้มักจะนึกถึง ความเจ็บป่วย ความไม่สบาย และความแก่ชรา โดยข้อเท็จจริงแล้ว โรคกระดูกพรุนเป็นโรคของความถดถอยหรือความเสื่อม ซึ่งมีสาเหตุจากการเกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกายของคนเรา หากเราบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ก็จะช่วยให้อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายลดลงได้มาก เป็นการช่วยชะลอวัยและความเสื่อมถอยของร่างกาย ซึ่งหมายถึง การช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูก ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและไม่เป็นโรคกระดูกพรุน[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

งานวิจัยรองรับ

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ChiangMai University)

จากการทดลองกับเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblasts) ของมนุษย์ด้วยสารเซซามินที่สกัดจากงาดำพบว่า สารเซซามินมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblasts) และมีความเป็นไปได้ว่า สารเซซามินมีผลทางอ้อมในการควบคุมการพัฒนาของเซลล์สลายกระดูก (Osteoclasts)

จากผลการทดลอง จึงสรุปได้ว่า สารเซซามินในงาดำอาจนำไปพัฒนาเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุนได้

อ้างอิงงานวิจัย

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22646286

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

รับประทานงาดำอย่างไรปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]วิธีการบริโภคงาดำมีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เราอยากให้ท่านลองพิจารณาตามข้อมูลที่จะนำเสนอดังต่อไปนี้[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

รับประทานทั้งเมล็ด

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

การบดงาดำแบบโบราณ

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]ถือเป็นวีธีการบริโภคงาดำที่ได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะได้บริโภคงาดำทั้งเมล็ดทำให้ได้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากที่สุด

การบริโภคงาดำทั้งเมล็ด จำเป็นต้องผ่านการบด เพราะเปลือกของเมล็ดงาดำ ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ หากเราทานงาดำทั้งเมล็ดโดยที่เราไม่ได้บดงาดำเสียก่อน เราจะได้รับประโยชน์น้อยมาก เพราะงาดำจำนวนมากจะผ่านระบบทางเดินอาหารของเราและถูกขับถ่ายออกมา โดยที่ร่างกายไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย (กินงาดำเข้าไปอย่างไรก็ถ่ายออกมาเป็นอย่างนั้น)

คำถามยอดนิยมที่คนบริโภคงาดำมันถามกัน เวลากินงาดำต้องคั่วก่อนไหม ?

การคั่วงาจะทำให้ได้กลิ่นและรสที่ดีขึ้นหรือจะพูดกันง่ายๆก็คือ ช่วยให้บริโภคได้อร่อยขึ้น แต่…การนำงาดำไปคั่วคือการนำงาดำไปผ่านความร้อน ซึ่งความร้อนจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งไปลดคุณสมบัติที่ดีในการต้านอนุมูลอิสระ และถ้าคั่วนานเกินไปจนไหม้ จากงาดำที่มีประโยชน์มากก็จะกลายเป็นงาดำที่คุณค่าทางอาหารลดลงและมีความเป็นพิษต่อร่างกายเพราะมีอนุมูลอิสระอยู่

การคั่วงาควรคั่วใช้เวลานานประมาณ 3-5 นาที พอให้งามีกลิ่นหอมก็เพียงพอแล้ว สำคัญคืออย่าให้งาไหม้

การเก็บรักษางาบดเป็นเรื่องที่ต้องให้ความระมัดระวัง เพราะงาเป็นอาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย หากดูแลไม่ถูกวิธี เช่น เก็บไว้ในที่ที่มีความชื้น หรือภาชนะที่เก็บงาบดไม่มิดชิด มีอากาศเข้าได้ ก็จะทำให้เกิดเชื้อราได้ง่ายขึ้นด้วย[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

การบริโภคงาดำในรูปน้ำมัน

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

การบดงาดำแบบโบราณ

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]การบริโภคน้ำมันงาได้รับความนิยมมากในประเทศอินเดีย ทั้งในรูปน้ำมันประกอบอาหาร ยาสมุนไพร และการนวดเพื่อบำบัด

การสกัดงาเพื่อเอาน้ำมันนั้น ในสมัยก่อนจะใช้วิธีการบดงาให้ละเอียดแล้วบีบเอาเฉพาะน้ำมันงาแยกออกมา โดยจะเหลือกากงาที่สามารถนำไปทำแป้งงาได้ ซึ่งการบีบน้ำมันงาในสมัยก่อน ในกระบวนการบดงาจะทำให้เกิดความร้อน ซึ่งจะไปลดคุณค่าทางอาหารของน้ำมันงาและคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระลงด้วย

การสกัดน้ำมันงาในยุคปัจจุบัน จึงมีการพัฒนาวีธีการที่ทันสมัยมากขึ้น เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหารของน้ำมันงาและคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระให้มากที่สุด การสกัดน้ำมันงาจึงใช้วีธีการสมัยใหม่ที่เรียกว่า การบีบเย็น (Cold Pressed) ซึ่งในกระบวนการบีบจะไม่เกิดความร้อน จึงส่งผลให้ได้น้ำมันงาที่มียังคงคุณค่าทางอาหารสูงและยังคงคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูงด้วย

การเก็บรักษาน้ำมันงาดำสกัดเย็น มีอยู่ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกจะบรรจุอยู่ในภาชนะ เช่น ใส่ขวดหรือโหลที่มีฝาปิดมิดชิดป้องกันอากาศเข้า การเก็บในรูปแบบนี้มักจะนำน้ำมันไปประกอบอาหารหรือไปใช้ในการนวดเพื่อบำบัด

ส่วนการเก็บรักษาน้ำมันงาดำสกัดเย็นในรูปแบบที่สอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ดีทีสุด คือ การเก็บรักษาไว้ในรูปแคปซูลเจล ซึ่งช่วยคงคุณค่าทางอาหารและคุณสมบัติของน้ำมันงาดำสกัดเย็นได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากน้ำมันงาดำไม่โดนอากาศและแสงแดดเลย จึงเหมาะสำหรับใช้รับประทานเพื่อดูแลสุขภาพมากที่สุด

การบริโภคน้ำมันงาดำสกัดเย็นชนิดแคปซูล จึงเป็นทางเลือกที่ดี สะดวก ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะนอกจากจะปลอดเชื้อราและไม่ผ่านความร้อนแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารมากและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกด้วย[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]การบริโภคงาดำถือเป็นการบริโภคที่ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงอะไรสำหรับคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติบางประการของงาดำ บุคคลบางกลุ่มจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานงาดำ หากมีท่านมีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

แพ้งา

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]การแพ้งามีความคล้ายคลึงกับการแพ้ถั่วที่หลายคนเป็นกัน การที่เราจะทราบได้ว่า เราแพ้งาหรือไม่ ? ต้องได้รับการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้จากทางโรงพยาบาล ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีสารก่อภูมิแพ้บางชนิดที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ หากท่านเคยแพ้ถั่ว เราแนะนำให้ท่านตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ก่อนการบริโภคงาหรือน้ำมันงา อย่างไรก็ตาม คนที่แพ้ถั่วไม่จำเป็นต้องแพ้งา และคนที่แพ้งาไม่จำเป็นต้องแพ้ถั่วแต่อย่างใด[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

ท้องเสีย

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]เนื่องจากงาดำมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ผู้ที่มีอาการท้องเสียอยู่ก่อนแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคงาดำหรือน้ำมันงาดำ จนกว่าอาการท้องเสียจะหายหรือทุเลาก่อน เพราะหากบริโภคงาดำเข้าไปในขณะที่ท้องเสีย อาจทำให้ท้องเสียมากยิ่งขึ้น[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

สรุป

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]งาดำมีสารประกอบฟีนอลหลายชนิด สารประกอบฟีนอลที่เป็นสารสำคัญในงาดำ คือ เซซามิน มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงทำให้งาดำมีความสามารถในการต้านโรคกระดูกพรุนและโรคข้อเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้งาดำยังมีสารอาหารที่หลายชนิดที่จำเป็นต่อกระดูกและไขข้อ จึงอาจกล่าวได้ว่า งาดำเป็นอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพของกระดูกและข้ออย่างแท้จริง

การบริโภคงาดำควรบริโภคในรูปของน้ำมันงาดำสกัดเย็นแคปซูล เพราะมีคุณค่าทางอาหารและสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่สูง เนื่องจากเป็นการสกัดโดยไม่ผ่านความร้อน ถูกเก็บไว้ในแคปซูลและไม่สัมผัสกับอากาศ ทำให้น้ำมันงาดำสกัดเย็นที่สกัดมาแล้วยังคงความสดใหม่และรักษาคุณภาพที่ดีไว้ได้[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

อ้างอิง

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”left” font_size=”15″]
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22646286

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22704650

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24338203

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3614603/

https://en.wikipedia.org/wiki/Milk http://black-sesame-seeds.com/[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

shadow-ornament


[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””][text_block style=”style_1.png” align=”center” font_size=”30″ font_font=”PT%20Sans” font_style=”bold” font_color=”%230159a2″ font_spacing=”-1″]น้ำมันงาดำสกัดเย็นยูอาร์ ขนาด 1,000 มิลลิกรัม ต้านและชะลอโรคกระดูกพรุนอย่างได้ผล พร้อมคุณประโยชน์อื่นๆต่อสุขภาพมากมาย[/text_block][/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

arrow

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_element data-style=””]

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

[/op_liveeditor_element]

[op_liveeditor_elements][/op_liveeditor_elements]